บทความพิเศษ


        
        โดยมากวงจรสัญญาณเตือนภัยตอนกลางคืนมักใช้ออปแอมป์และ IC สำเร็จรูปบางตัวมาประยุกต์ใช้งาน ในวงจรที่จะนำเสนอนี้ก็เช่นเดียวกัน เราใช้ IC Timer 555 ที่นิยมใช้กันมากเบอร์หนึ่งมาสร้างเช่นกัน โดยวงจรต่อเป็นวงจรโมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ ซึ่งใช้ตัวต้านทาน R2 และตัวเก็บประจุ C1 เป็นตัวกำหนดเวลา เริ่มต้นสภาวะแรกเมื่อ R1 ซึ่งเป็น LDR ( Light dependent resistor ) ดับอยู่ ค่าความต้านทานที่ตัวมันนั้นจะสูง ทำให้ขา 2 ของIC555 เปรียบเสมือนต่อลงกราวด์และเมื่อมีแสงมากระทบที่ตัว R1 ก็จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้ขา 2 ของ IC1 ทำงาน
   ทำให้เปียโซขนาด 6 โวลด์ เสียงดังขึ้นมา การปรับค่าความต้านทาน P1 นั้นขึ้นอยู่กับแสงสว่างบริเวณที่วงจรของเราติดอยู่ 
   การติดตั้งที่เหมาะสมที่สุดก็คือติดไว้กับผนังบ้านบริเวณทางเข้าหรือห้องโถง จากนั้นค่อยปรับค่าความไวในการรับแสงจาก P1 ได้ตามความเหมาะสม





ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออปแอมป์
     Av เป็นอัตราการขยายแรงดันซึ่งมีค่าสูงมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่พิเศษสุดของออปแอมป์ ออปแอมป์แบบอุดมคติ จะมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังนี้ 
  1. อัตราการขยายแรงดัน สูงมากจนเป็นอนันต์
  2. ความต้านทานทางอินพุต สูงมากจนเป็นอนันต์
  3. ความต้านทานทางเอาท์พุท ต่ำมากจนเป็นศูนย์
  4. แรงดันออฟเซททางอินพุทเป็นศูนย์
  5. กระแสออฟเซททางอินพุทเป็นศูนย์
  6. ลักษณะสมบัติเชิงความถี่ ขยายได้ดีตั้งแต่ไฟตรง จนความถี่สูงมากเป็นอนันต์
  7. ไม่มีข้อบกพร่องอื่น ๆ
 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ออปแอมป์ก็ไม่ได้มีคุณสมบัติอย่างในอุดมคติเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ สำหรับผู้เริ่มต้น ในช่วงแรกให้ถือว่า ออปแอมป์ที่ใช้ศึกษากันต่อไปนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอุดมคติมาก